เมนู

ในบทว่า กาเลน วกฺขามิ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ภิกษุ
ให้ภิกษุอื่นกระทำโอกาส ๆ หนึ่งแล้วโจท ชื่อว่ากล่าวโดยกาล. โจท
กลางสงฆ์ กลางคณะ ที่โรงสลาก โรงยาคู โรงภัต โรงตรึก หนทาง
ภิกษาจารและศาลฉัน ที่ศาลเฝ้า [บำรุง] หรือในคณะพวกอุปัฏฐาก
ปวารณา ชื่อว่ากล่าวโดยมิใช่กาล กล่าวด้วยเรื่องที่แท้จริง ชื่อว่ากล่าว
ด้วยเรื่องจริง กล่าวว่า พ่อมหาจำเริญ ตาแก่ พ่อทำลายบริษัท พ่อถือ
บังสุกุล พ่อนักเทศก์ นี้สมควรแก่พ่อหรือ ชื่อว่า กล่าวด้วยคำหยาบ
กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านผู้เฒ่า ท่านผู้อนุเคราะห์บริษัท ท่านผู้ทรงผ้า
บังสุกุล ท่านธรรมกถึก นี้สมควรแก่ท่านหรือ ชื่อว่า กล่าวด้วยคำไพเราะ.
กล่าวอาศัยเหตุ ชื่อว่า กล่าวด้วยคำอิงประโยชน์. บทว่า เมตฺตจิตฺโต
วกฺขามิ โน โทสนฺตโร
ความว่า เราจะตั้งเมตตาจิตกล่าว ไม่มีประทุฐจิต
กล่าว.
จบอรรถกถากุสินาราสูตรที่ 4

5. ปเวสนสูตร


ว่าด้วยโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน 10 ประการ


[45] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน
มี 10 ประการ 10 ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชา
ในโลกนี้ประทับอยู่กับพระมเหสี ภิกษุเข้าไปในที่นั้น พระมเหสีเห็นภิกษุ
นั้นแล้วย่อมทรงยิ้มแย้ม หรือภิกษุเห็นพระมเหสีแล้วยิ้มแย้มก็ดี พระราชา
ก็จักทรงสงสัยในอาการนั้นอย่างนี้ว่า คนทั้งสองนี้คงได้ทำแล้ว หรือจัก

ทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษใน
การเข้าไปสู่พระราชวังชั้นในข้อที่ 1.
อีกประการหนึ่ง พระราชาทรงมีกิจมาก มีกรณียะมาก เสด็จไป
หาหญิงคนใดคนหนึ่งแล้ว ทรงระลึกไม่ได้ หญิงนั้นย่อมตั้งครรภ์ด้วย
พระราชานั้น พระราชาก็จักทรงสงสัยในการตั้งครรภ์นั้นอย่างนี้ว่า เว้น
บรรพชิตแล้ว ใคร ๆ อื่นไม่เข้ามาในพระราชวังชั้นในนี้ กรรมนี้จะพึง
เป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษใน
การเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ 2.
อีกประการหนึ่ง รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งในพระราชวังชั้นในหาย
ไป พระราชาก็จักทรงสงสัยในการที่รัตนะหาไปนั้นอย่างนี้ว่า เว้น
บรรพชิตแล้วใคร ๆ อื่นไม่เข้ามาในพระราชวังชั้นในนี้ กรรมนี้จะพึง
เป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษ
ในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ 3.
อีกประการหนึ่ง เรื่องลับอันเป็นภายในในพระราชวังชั้นในแพร่ง
พรายออกภายนอก พระราชาก็จะทรงสงสัยในการที่เรื่องลับแพร่งพราย
ออกภายนอกนั้นอย่างนี้ว่า เว้นบรรพชิตแล้ว ใคร ๆ อื่นไม่เข้ามาใน
พระราชวังชั้นในนี้ กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการะข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ 4.
ประการหนึ่ง ในพระราชวังชั้นใน บิดาย่อมปรารถนาเพื่อจะ
ฆ่าบุตร หรือบุตรย่อมปรารถนาเพื่อจะฆ่าบิดา คนทั้งสองฝ่ายนั้นจะสงสัย
อย่างนี้ว่า เว้นบรรพชิตแล้ว ใครๆ อื่นไม่เข้ามาในพระราชวังชั้นในนี้
กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้

เป็นโทษ ในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ 5.
อีกประการหนึ่ง พระราชาย่อมทรงตั้งบุคคลผู้ควรแก่ตำแหน่งต่ำ
ไว้ในตำแหน่งสูง คนทั้งหลายไม่พอใจในการแต่งตั้งนั้น จะมีความ
กรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการ
เข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ 6.
อีกประการหนึ่ง พระราชาย่อมทรงตั้งบุคคลผู้ควรแก่ตำแหน่งสูง
ไว้ในตำแหน่งต่ำ คนทั้งหลายไม่พอใจการแต่งตั้งนั้น จะมีความสงสัย
อย่างนี้ว่า พระราชาทรงคลุกคลีด้วยบรรพชิต กรรมนี้จะพึงเป็นกรรม
ของบรรพชิตกระมังหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไป
ในพระราชวังชั้นในข้อที่ 7.
อีกประการหนึ่ง พระราชย่อมทรงส่งกองทัพไปในกาลอันไม่ควร
คนทั้งหลายไม่พอใจในการที่ส่งกองทัพไปนั้น จะมีความสงสัยอย่างนี้ว่า
พระราชาทรงคลุกคลีด้วยบรรพชิต กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิต
กระมังหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวัง
ชั้นในข้อที่ 8.
อีกประการหนึ่ง พระราชาทรงส่งกองทัพไปในกาลอันควร แล้ว
รับสั่งให้กลับเสียในระหว่างทาง คนทั้งหลายไม่พอใจการให้กองทัพกลับ
เสียในระหว่างทางนั้น จะมีความสงสัยอย่างนี้ว่า พระราชาทรงคลุกคลี
ด้วยบรรพชิต กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ 9.
อีกประการหนึ่ง พระราชาวังชั้นในเป็นที่คับคั่งด้วยช้าง คับคั่ง

ด้วยม้า คับคั่งด้วยรถ มีรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้ง
แห่งความกำหนัด ซึ่งเป็นของไม่สมควรแก่บรรพชิต ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ 10 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย โทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน 10 ประการนี้แล.
จบปเวสนสูตรที่ 5

อรรถกถาปเวสนสูตรที่ 5


ปเวสนสูตรที่ 5

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กตํ วา กริสฺสนฺติ วา ได้แก่ ทำการล่วงละเมิดเมถุนแล้ว
หรือจักทำการล่วงละเมิดเมถุนนั้น. บทว่า รตนํ ได้แก่ บรรดารัตนะ มี
มณีรัตนะเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า ปฏฺเฐติ ได้แก่ ประสงค์จะ
ให้ตาย. บทว่า หตฺถีสมฺพาธํ แปลว่าอันเบียดเสียดด้วยช้าง. ปาฐะว่า
หตฺถีมทฺทนํ ก็มี. คำนั้นมีใจความว่า ชื่อว่าหัตถีสัมมัททะ เพราะเป็น
ที่มีช้างเหยียบย่ำ. ในคำที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า รชนียานิ
รูปสทฺทคนฺธรสโผฏฺฐพฺพานิ
ความว่า อารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ที่ทำ
ให้ราคะเกิดเหล่านี้นั้นย่อมเป็นของอร่อยในข้อนั้น.
จบอรรถกถาปเวสนสูตรที่ 5

6. สักกสูตร


ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้า


ทรงเตือนอุบาสกชาวสักกะให้รักษาอุโบสถเป็นนิตย์


[46] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม
ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวสักกชนบทเป็นอัน